หน่วยที่1.2
1.ความหมายเทคโนโลยีหมายถึงสิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เข่น อุปกรณ์, เครื่องมือ, เครื่องจักร, วัสดุ หรือ แม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น กระบวนการต่าง ๆ
เทคโนโลยี เป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติ แก่มวลมนุษย์กล่าวคือเทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัย ทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นสมบัติส่วนรวมของ ชาวโลกมีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับ
เทคโนโลยี เป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติ แก่มวลมนุษย์กล่าวคือเทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัย ทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นสมบัติส่วนรวมของ ชาวโลกมีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับ
เทคโนโลยีเป็นองค์ประกอบสำคัญที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงต่อกระบวนการกิจกรรมของมนุษย์ในหลายๆด้าน เช่น สังคมความเป็นอยู่ การปกครอง เศรษฐกิจ แม้แต่ด้านการเมืองการปกครอง การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีนั้นเป็นไปอย่างรวดเร็วได้ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อระบบเศรษฐกิจ ภาคการผลิต ภาคการบริการและคุณภาพชีวิตของประชาชน
เทคโนโลยี เป็นส่วนหนึ่งของผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสังคมในหลายๆด้าน เป็นทั้งเครื่องมือที่ผลักดันให้ระบบเศรษฐกิจมีการพัฒนา รวมถึงเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำรงชีวิตของมนุษย์ อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีเองก็สามารถส่งผลกระทบในด้านที่ไม่ต้องการเช่น การสร้างมลพิษหรือการเกิดส่วนเกินจากการผลิตที่ไม่ต้องการกลายเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม การพัฒนาเทคโนโลยีกลายเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาต่างของมนุษย์แต่ในขณะเดียวกันก็สร้างปัญหารูปแบบใหม่ๆให้เกิดขึ้นด้วย การทำความเข้าใจแนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีจำเป็นต้องมองระยะยาวมากขึ้น เพื่อสะท้อนภาพการพัฒนาเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ด้านบวกมากกว่าจะกลายเป็นผลเสียต่อสังคมโดยรวม เทคโนโลยี
2. เทคโนโลยีกับการเปลี่ยนแปลง สังคมยุคใหม่
กระบวนการเปลี่ยนแปลงของสังคมทั่วโลกที่เป็นไปตามกระแสการเปลี่ยนของเทคโนโลยี โดยเฉพาะด้านการสื่อสารแลข้อมูลสารสนเทศ ประสิทธิภาพของการส่งข้อมูลและข่าวสารมีความทันสมัยและรวดเร็วและด้วยเทคโนโลยีทำให้การรับรู้เป็นไปอย่างสมบูรณ์มากขึ้น ทั้งภาพและเสียงระบบการกระจายข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างรวดเร็วไม่จำกัดช่องทางหรือตัวกลาง ผลจากการพัฒนารูปแบบเทคโนโลยีทุกด้านทำให้เกิดผลกระทบกับระบบเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีทำให้เกิดแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายด้านแนวโน้มที่สำคัญ ประกอบด้วย
1) เทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ
2) เทคโนโลยีแบบตอบสนองตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน เป็นการพัฒนาขึ้นมาใช้สำหรับบุคคลเทคโนโลยีสร้างอุปกรณ์ต่างๆเพื่อเน้นการตอบสนองตามความต้องการ โดยสร้างพื้นฐานของอุปกรณ์รองรับทั้งด้านการเชื่อมโยงเครือข่ายทำให้กระบวนการที่ซับซ้อนสามารถเป็นไปได้ เทคโนโลยีพัฒนาก้าวหน้าเพื่อให้สามารถนำทุกการคิดค้นต่างๆขึ้นมาตอบสนองและลดปัญหาต่างๆของมนุษย์
3) เทคโนโลยีทำให้เกิดรูปแบบขององค์กรที่สามารถประกอบการหรือดำเนินกิจกรรมได้ทุกสถานที่ และทุกเวลาอาศัยรสื่อสารที่ก้าวหน้ากาและแพร่หลายขึ้นผ่านระบบเครือข่าย การประชุมทางวีดิทัศน์ ข่าย ลัระบบประชุมบนเครือข่าย ระบบโทรศึกษา ระบบการค้าบนเครือกษณะของการดำเนินงานเหล่านี้ ทำให้ผู้ใช้ขยายขอบเขตการดำเนินกิจกรรมไปทุกหนทุกแห่งตลอด 24 ชั่วโมง กิจกรรมทางเศรษฐกิจจัดการได้สะดวกมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการวางระบบเอทีเอ็มที่ทำให้การเบิกจ่ายได้ตลอดเวลาและกระจายถึงตัวผู้รับบริการมากขึ้น
4) เทคโนโลยีทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบท้องถิ่นเชื่อมโยงสู่ระดับเศรษฐกิจโลกที่ไม่มีขีดจำกัดด้านสถานที่ การซื้อขายที่ผ่านระบบอินเตอร์เนททำให้เกิดรูปแบบการค้าที่ช่วยให้มีการแลกเปลี่ยนสินค้า บริการอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว ระบบเศรษฐกิจในโลกสามารถเชื่อมโยงและเอื้อประโยชน์ในรูปแบบต่างๆมากขึ้น
5) เทคโนโลยีส่งผลให้องค์กรมีลักษณะแบบเครือข่ายมากขึ้น องค์กรมีการวางเป็นลำดับขั้นสายการบังคับบัญชาจากบนลงล่าง แต่เมื่อการสื่อสารแบบสองทางและการกระจายข่าวสารดีขึ้น มีการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในองค์กรผูกพันกันเป็นกลุ่มงานเพิ่มคุณค่าขององค์กรด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศองค์กรกลายเป็นการบริหารข่ายงานที่มีลักษณะการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น การออกแบบหน่วยธุรกิจขนาดเล็กลงและเน้นการทำงานเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่ายตามความเชี่ยวชาญและประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์เป็นหลัก โครงสร้างขององค์กรได้รับผลตามกระแสของเทคโนโลยีอย่างสมบูรณ์
6) เทคโนโลยีทำเกิดการวางแผนการดำเนินการบริหารที่สร้างความได้เปรียบเพื่อให้เกิดความยั่งยืนมากขึ้น ระบบการตัดสินใจวางแผนมีแบบแผนและมีประสิทธิภาพ แนวทฤษฎีทางความคิดการบริหารเปลี่ยนไปมีความยืดหยุ่นและมองหลายมิติมากขึ้น
7) เทคโนโลยีได้กลายเป็นตัวแปรที่สำคัญในทุกด้านมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม ศีลธรรม การศึกษา เศรษฐกิจและการเมืองได้อย่างมาก การเชื่อมโยงข่าวสารจากประเทศต่างๆ ได้ทั่วโลกสามารถรับรู้ข่าวสาร ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการสื่อสารระหว่างกันและติดต่อกับคนได้ทั่วโลก ผลกระทบที่ตามมาของ
การส่งผ่านวัฒนธรรม เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองจึงมีลักษณะเป็นสังคมโลกมากขึ้น
3.ระบบของเทคโนโลยี
เมื่อพูดถึงระบบ สิ่งที่ต้องนึกถึงก็คือ จะประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ ตัวป้อน(input) กระบวนการ (Process) และผลลัพธ์ (Output) ซึ่งหมายความว่า อะไรก็ตามที่เป็นระบบ การทำงานของทั้งสามองค์ประกอบนี้ก็จะมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เช่น ในระบบบำบัดน้ำเสีย มีตัวป้อนคือ "น้ำเสีย"ที่เกิดจากระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม นำมาผ่าน "กระบวนการ"เพื่อการบำบัดอย่างเหมาะสม เช่น กรองกากของเสีย ทำการตกตะกอน ลดอุณหภูมิ หรือแยกโลหะหนักและสารปนเปื้อน เติมจุลินทรีย์ จนได้ผลลัพธ์หรือผลผลิตคือ "น้ำที่ได้รับการบำบัดแล้ว"
ภาพแสดงระบบบำบัดน้ำเสีย
ระบบเทคโนโลยี (Technological System) คือระบบที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ โดยระบบเทคโนโลยี มีองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วน ซึ่งมีความสัมพันธ์กันดังภาพ
จากแผนภาพดังกล่าว สามารถอธิบายได้ดังนี้
1. ตัวป้อน (Input) คือ ปัญหาที่ต้องการแก้ไข หรือ ความต้องการของมนุษย์
2. กระบวนการเทคโนโลยี (Technological Process) คือ ขั้นตอนการแก้ปัญหาหรือการตอบสนองความต้องการ โดยอาศัยทรัพยากรทางเทคโนโลยีเพื่อให้ได้ผลผลิตหรือผลลัพธ์
3. ผลผลิตหรือผลลัพธ์ (Output หรือ Outcome) คือ สิ่งทีไ่ด้มา หรือเกิดขึ้นจากกระบวนการเทคโนโลยี หรือผลที่ได้จากกระบวนการแก้ปัญหานั่นเอง โดยผลผลิตหรือผลลัพธ์ที่ได้จากระบวนการเทคโนโลยี(กระบวนการแก้ปัญหา)นี้อาจ เป็น ชิ้นงาน (Product) หรืออาจเป็นวิธีการ (Methodology)
4. ทรัพยากรทางเทคโนโลยี (Resource) คือสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ในการแก้ปัญหา เพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิตหรือผลลัพธ์นั่นเอง ซึ่งทรัพยากรทางเทคโนโลยี แบ่งได้ 7 ด้าน ได้แก่ คน ข้อมูลและสารสนเทศ วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ พลังงาน ทุนหรือทรัพย์สิน และเวลา
5. ปัจจัยที่ขัดขวางต่อเทคโนโลยี (Constraints) คือ สิ่งที่เป็นข้อจำกัด ข้อพิจารณา หรือสิ่งที่ต้องคำนึงถึง ซึ่งจะทำให้การแก้ปัญหาได้ผลงานแตกต่างกันไป เช่น มีทุนน้อย มีเวลาจำกัด ไม่มีความรู้หรือความชำนาญ ขาดทักษะและความคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ
การเลือกใช้เทคโนโลยี
เทคโนโลยีมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตและการดำเนินกิจกรรมต่างๆของมนุษย์มาก มาย แต่ในขณะเดียวกันก็มีการใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดผลกระทบในด้านต่างๆ เช่น ผลกระทบต่อชีวิต ผลกระทบต่อสังคมและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังตัวอย่างต่อไปนี้
การใส่สารเคมีลงในอาหารเพื่อปรับปรุงรสชาติหรือคุณภาพของอาหาร แต่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ จัดเป็นผลกระทบต่อชีวิต
ปัญหาการล่อลวงไปทำให้เกิดความเสียหาย ผ่านทาง Social media ต่างๆ เช่น ทาง Facebook หรือ Skype ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบด้านสังคม
ปัญหาการเผยแพร่คลิปวีดีโอที่ไม่เหมาะสม เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต ทำให้เกิดผลกระทบด้านสังคม
ปัญหาการใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพ่ิมมากขึ้น จนทำให้เกิดปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งนับวันจะเพ่ิมมากขึ้น ซึ่งนับเป็นผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
จากตัวอย่างข้างต้น จะเห็นได้ว่า การเลือกใช้เทคโนโลยีใดโดยขาดการพิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบ ใช้เทคโนโลยีอย่างไม่เหมาะสม เกินความจำเป็นหรือมากเกินไป ใช้แบบขาดสติความยั้งคิด ขาดจริยธรรม ขาดความรับผิดชอบ ก็จะทำให้เกิดผลเสียหายในด้านต่างๆตามมาอย่างมากมาย
ผลกระทบที่เกิดจาการใช้เทคโนโลยีต่อชีวิต สังคมและสิ่งแวดล้อม จะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น หากมนุษย์ยังขาดการไตร่ตรองพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนนำเทคโนโลยีมาใช้ ดังนั้นก่อนการเลือกใช้เทคโนโลยีใดๆควรจะได้มีการวิเคราะห์ถึงผลกระทบทั้ง ผลดีและผลเสียอย่างรอบคอบเสียก่อน และประการสำคัญก็คือ การตัดสินในเลือกใช้เทคโนโลยีควรเลือกให้เหมาะสมกับความต้องการที่แท้จริง ซึ่งหลักเกณฑ์ที่สำคัญในการเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ก็คือ การเลือกใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมโดยคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดต่อชีวิต สังคมและสิ่งแวดล้อม
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น